วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน (L-carnitine)

กรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน (L-carnitine)

เป็นกรดอะมิโน 1 ในจำนวน 20 ชนิดที่เป็นโมเลกุลพื้นฐานหรือโมเลกุลที่เล็กที่สุดของสารอาหารจำพวกโปรตีน และแอลคาร์นิทีน ถือเป็นกรดอะมิโนชนิดที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้จากกรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้น 2 ชนิดคือ กรดอะมิโนแอลไลซีน (L-lysine) และกรดอะมิโนเมไธโอนีน (Methionine) โดยจะต้องมีวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ร่วมในกระบวนการสร้างกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนดังกล่าวมากมายหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินบี 6 หรือ Pyridoxin วิตามินบี 3 หรือ Niacin และธาตุเหล็ก

         ดังนั้นถึงแม้ว่าร่างกายจะสามารถสร้างกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนได้ด้วยตนเองที่ตับ และไตแต่หากร่างกายขาดปัจจัยตั้งแต่สารตั้งต้นและสารอื่น ๆที่เป็นปัจจัยร่วมในการสร้างดังกล่าวข้างต้น แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจจะส่งผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะบกพร่องหรือมีปริมาณกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ ดังนั้นเราก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน จากอาหารโดยเฉพาะจากเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับ : กลไกการทำงานของกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน
 
ในการศึกษาทางการแพทย์เราพบว่าร่างกายของเราจะมีการนำเอากรดไขมันอิสระ (Free Fatty Acids) ที่ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อสร้างเป็นพลังงานสำหรับการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร่างกายของเราต้องมีในแต่ละวันอยู่ตลอดเวลา และพบว่าความสามารถของเซลล์ในการนำเอากรดไขมันอิสระที่ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปเผาผลาญ เป็นพลังงานต่อไปนั้น ขึ้นอยู่กับสารประกอบทางเคมีตัวหนึ่งที่มีสูตรโครงสร้างหลักเป็นกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน โดยสารเคมีเชิงซ้อนดังกล่าวจะอยู่ที่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ และเยื่อหุ้มไมโตคอนเดรีย (Mitochondria Membrane) และมีหน้าที่ในการนำพาโมเลกุลของไขมันอิสระเข้าสู่เซลล์และเข้าสู่ไมโตคอนเดรีย

บางครั้งจึงเรียกสารประกอบเชิงซ้อนที่มีโมเลกุลของกรดอะมิดนแอลคาร์นิทีนเป็นโครงสร้างหลักนี้ว่าโปรตีนตัวพา(CarrierProteins)และพบว่าหากเยื่อหุ้มเซลล์หรือร่างกาย

มีระดับของกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนในปริมาณต่ำก็จะส่งผลทำให้กระบวนการในการเผาผลาญไขมันในร่างกายด้อยประสิทธิภาพตามไปด้วยและเมื่อกระบวนการดังกล่าวด้อยประสิทธิภาพลงก็ย่อจะส่งผลทำให้กระบวนการสร้างพลังงานแย่ลงไป อาจส่งผลทำให้เกิดอาการอ่อนเปลี้ยหมดแรงในผู้สูงอายุบางคนหรือในเด็กที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแพทย์ก็มักจะมีการสั่งจ่ายกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนเพื่อให้เด็กคนดังกล่าวสามารถสร้างพลังงานจากกรดไขมันที่มีอยู่ในร่างกายเพื่อที่ร่างกายจะได้มีเรี่ยวแรงขึ้นมาได้ด้วยและนอกจากทำให้เกิดภาวะหมดเรี่ยวแรงในบางคนแล้วยังพบว่าการที่ร่างกายมีระบบเผาผลาญไขมันไม่ดีก็จะส่งผลทำให้เกิดภาวะการสะสมไขมันดังกล่าวไว้ตามเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่ทั่วไปในร่างกาย และสามารถก่อให้เกิดปัญหาน้ำหนักตัวหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ด้วยเช่นกัน

ขนาดที่ใช้ : คำแนะนำในการรับประทานแอลคาร์นิทีน
 
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าการรับประทานกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนเพื่อให้ผลในการลดปริมาณไขมันในร่างกายนั้นจะต้องรับประทานควบคู่กับโปรแกรมการออกกำลังกาย เนื่องจากลักษณะการทำงานของกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน นั้นเป็นการทำงานตามธรรมชาติ นั่นคือจะทำงานมากขึ้นเมื่อร่างกายมีความต้องการ และเมื่อใดที่ร่างกายมีความต้องการ ? คำตอบก็คือเมื่อร่างกายมีการออกกำลังกายหรือมีความต้องการพลังงานอย่างมาก ซึ่งก็จะเป็นเวลาที่ร่างกายของเราดึงเอากรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนมาใช้เพื่อช่วยดึงเอาไขมันที่สะสมอยู่ตามแหล่ง ๆ ของร่างกายให้ถูกย่อยสลายออกเป็นกรดไขมันอิสระในเลือด แล้วนำเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปย่อยสลายหรือเผาผลาญเป็นพลังงานตามความต้องการของร่างกายอีกต่อหนึ่ง เนื่องจากกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ ดังนั้นยังไม่มีการวิจัยใดที่พบว่าการรับประทานกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงหรือเกิดความเป็นพิษ

ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ วันละ 500 ถึง 2,000 มิลลิกรัม โดยไม่แนะนำให้รับประทานติดต่อกันเกินกว่า 6 เดือน เนื่องจากอาจจะทำให้ร่างกายของเราขาดกรดอะมิโนชนิดอื่น ๆ อีก 19 ชนิดได้ แต่ในผู้ที่มีความจำเป็นต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานให้หยุดพักทุก 6 เดือน แล้วในระหว่างที่หยุดพักควรรับประทานกรดอะมิโนชนิดอื่น ๆ ให้ครบทั้ง 20 ชนิดร่วมด้วย และการรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม หรือไข่ ก็พบว่าสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้เช่นกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น