วันอังคารที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อัจฉริยะกับ 9 เทคนิคฝึกสมองไบรท์

อัจฉริยะกับ 9 เทคนิคฝึกสมองไบรท์
 
ชื่อของ "หนูดี" วนิษา เรซ ครูอนุบาลสาวสวยลูกครึ่งไทย-อเมริกันวัย 30 ปี หลายคนอาจจะพอคุ้นๆ หูและหน้าตาเธอขึ้นบ้างแล้ว โดยเฉพาะหลังจากออกรายการจับเข่าคุยกับสรยุทธ สุทัศนะจินดา พิธีกรข่าวสุดฮอต ยิ่งส่งผลให้เธอดังเป็นพลุแตกกับความสวยรวยความเก่ง มากไปด้วยความสามารถของเธอ
 
"คุณหนูดี-วนิษา เรซ" ดีกรีผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เจ้าของโรงเรียนและสถาบันอัจฉริยะสร้างได้ อีกทั้งยังเป็นคนแรกที่ทำอาชีพเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพ ซึ่งไปถามใครที่ไหนเชื่อเถอะว่าน้อยคนนักที่จะรู้จักอาชีพนี้ เพราะเมื่อเอ่ยถึงการฝึกความอัจฉริยะหรือการพัฒนาสมองเรามักจะนึกถึงเด็กเล็กๆ ซึ่งน่าจะเหมาะกับการพัฒนาและฝึกฝนมากกว่าผู้ใหญ่ แท้ที่จริงแล้วผู้ใหญ่ทุกคนก็สามารถสร้างความเป็นอัจฉริยะได้ อย่างที่คุณหนูดีกล่าวว่า "สมองของเรามีเซลล์สมองเท่ากับไอน์สไตน์ " เพียงแค่ดูแลสมองให้มีสุขภาพดี ด้วยเทคนิคที่ควรเอ็กเซอร์ไซส์ให้สมองไบรท์ดังต่อไปนี้
 
1. จิบน้ำบ่อยๆ สมองประกอบด้วยน้ำ 85% เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่มีน้ำ ต้นไม้ก็เหี่ยว ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยวซึ่งส่งผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออกแต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อยๆ
 
2. กินไขมันดีคนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมันซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วย ปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวมน้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น
 
3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุด ๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ ( ถ้าทำไม่ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน
 
4. ใส่ความตั้งใจ การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิด ระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่างๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิดขึ้นทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน
 
5. หัวเราะและยิ้มบ่อยๆ ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้นให้มีความอยากรักและ หวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ
 
6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่นกินอาหารร้านใหม่ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็นโดรฟิน และโดปามีนซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และสร้างสรรค์ไปเรื่อยๆ เมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์
 
7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง
 
8. เขียนบันทึก Graceful Journal ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดีๆทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดีตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์
 
9. ฝึกหายใจลึกๆ สมองใช้ออกชิเจน 20 25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึกๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มาก ขึ้น ถ้านั่งทำงานนานๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยาย
 
อย่างไรก็ตาม การฝึกฝนตามเทคนิคง่ายๆทั้ง 9 ข้อนี้อาจจะไม่ทำให้เกิดอัจฉริยะข้ามคืนได้เพราะต้อง อาศัยระยะเวลาในการเรียนรู้ แต่สิ่งที่ได้ในเบื้องต้นคือการมีสุขภาพดีทั้งกายและ ใจแบบชนิดที่เรียกว่า "สวยทั้งภายในและภายนอก" อย่างแน่นอน

วันจันทร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อีฟนิ่งพริมโรส

              
               อีฟนิ่งพริมโรส นั้น จัดเป็นพันธุ์ไม้ที่มีลักษณะเป็นพุ่มเล็กๆ มีดอกสีเหลือง ขึ้นอยู่ในแถบพื้นที่อบอุ่นและหนาวของทวีปอเมริกาเหนือตอนบน ชาวบ้านแถบนั้นเค้ารู้ซึ้งถึงคุณประโยชน์กันมานาน ถึ่งขนาดที่ตั้งชื่อให้ว่า "ราชาแห่งการรักษาโรคทุกชนิด" ด้วยคุณสมบัติจากเมล็ดเล็กๆในฝักของดอก เมื่อนำมาสกัดเป็นน้ำมันนั้น ก็จะได้กรดไขมันหลายชนิดที่สำคัญที่มีประโยชน์และร่างกายสามารถนำไปใช้ได้

ส่วนประโยชน์ของมันนั้นก็หลากหลายดังต่อไปนี้ค่ะ


1. บรรเทาอาการปวดก่อนมีประจำเดือน และอาการที่เกี่ยวเนื่องเช่น คัดหน้าอก ปวดตามข้อ

2. ทำให้ผิวพรรณเปล่งหลั่งมีน้ำมีนวล เส้นผมมีสุขภาพดี เงางามไม่แห้งแตกปลาย ไม่เป็นรังแค เล็บแข็งแรง

3. ลดระดับโคเลสเตอรอลในเลือด

4. ลดการเกิดสิว


5. ลดความดันโลหิต ทำให้เส้นเลือดแข็งแรง


6. ลดอาการปวดศีรษะไมเกรน ลดอาการปวดอักเสบตามข้อ


7. พื้นฟูสภาพตับในผู้ป่วยโรคพิษสุราเรื้อรัง


8. บรรเทาอาการหวัด ทำให้อ่อนเพลียเมื่อมีไข้


9. ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดจับตัวกันเป็นก้อน ลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ


10.ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในผู้สูงอายุได้


การรับประทานน้ำมันอีฟนิ่งพริมโรส

ถ้ารับประทานเป็นอาหารเสริม วันละ 1,000 มิลลิกรัม หลังอาหารทันที (หรือวันละ1เม็ด)


ถ้ารับประทานเพื่อรักษาโรค วันละ 3 กรัม หรือมากกว่านี้ ตามคำแนะนำของแพทย์

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553

กรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน (L-carnitine)

กรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน (L-carnitine)

เป็นกรดอะมิโน 1 ในจำนวน 20 ชนิดที่เป็นโมเลกุลพื้นฐานหรือโมเลกุลที่เล็กที่สุดของสารอาหารจำพวกโปรตีน และแอลคาร์นิทีน ถือเป็นกรดอะมิโนชนิดที่ร่างกายสามารถสร้างเองได้จากกรดอะมิโนที่เป็นสารตั้งต้น 2 ชนิดคือ กรดอะมิโนแอลไลซีน (L-lysine) และกรดอะมิโนเมไธโอนีน (Methionine) โดยจะต้องมีวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ ร่วมในกระบวนการสร้างกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนดังกล่าวมากมายหลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินบี 6 หรือ Pyridoxin วิตามินบี 3 หรือ Niacin และธาตุเหล็ก

         ดังนั้นถึงแม้ว่าร่างกายจะสามารถสร้างกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนได้ด้วยตนเองที่ตับ และไตแต่หากร่างกายขาดปัจจัยตั้งแต่สารตั้งต้นและสารอื่น ๆที่เป็นปัจจัยร่วมในการสร้างดังกล่าวข้างต้น แม้เพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็อาจจะส่งผลทำให้ร่างกายเกิดภาวะบกพร่องหรือมีปริมาณกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้ ดังนั้นเราก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องรับประทานกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน จากอาหารโดยเฉพาะจากเนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอด้วย

ประโยชน์ที่ได้รับ : กลไกการทำงานของกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน
 
ในการศึกษาทางการแพทย์เราพบว่าร่างกายของเราจะมีการนำเอากรดไขมันอิสระ (Free Fatty Acids) ที่ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อสร้างเป็นพลังงานสำหรับการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ที่ร่างกายของเราต้องมีในแต่ละวันอยู่ตลอดเวลา และพบว่าความสามารถของเซลล์ในการนำเอากรดไขมันอิสระที่ล่องลอยอยู่ในกระแสเลือดเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปเผาผลาญ เป็นพลังงานต่อไปนั้น ขึ้นอยู่กับสารประกอบทางเคมีตัวหนึ่งที่มีสูตรโครงสร้างหลักเป็นกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน โดยสารเคมีเชิงซ้อนดังกล่าวจะอยู่ที่บริเวณเยื่อหุ้มเซลล์ และเยื่อหุ้มไมโตคอนเดรีย (Mitochondria Membrane) และมีหน้าที่ในการนำพาโมเลกุลของไขมันอิสระเข้าสู่เซลล์และเข้าสู่ไมโตคอนเดรีย

บางครั้งจึงเรียกสารประกอบเชิงซ้อนที่มีโมเลกุลของกรดอะมิดนแอลคาร์นิทีนเป็นโครงสร้างหลักนี้ว่าโปรตีนตัวพา(CarrierProteins)และพบว่าหากเยื่อหุ้มเซลล์หรือร่างกาย

มีระดับของกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนในปริมาณต่ำก็จะส่งผลทำให้กระบวนการในการเผาผลาญไขมันในร่างกายด้อยประสิทธิภาพตามไปด้วยและเมื่อกระบวนการดังกล่าวด้อยประสิทธิภาพลงก็ย่อจะส่งผลทำให้กระบวนการสร้างพลังงานแย่ลงไป อาจส่งผลทำให้เกิดอาการอ่อนเปลี้ยหมดแรงในผู้สูงอายุบางคนหรือในเด็กที่มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรงแพทย์ก็มักจะมีการสั่งจ่ายกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนเพื่อให้เด็กคนดังกล่าวสามารถสร้างพลังงานจากกรดไขมันที่มีอยู่ในร่างกายเพื่อที่ร่างกายจะได้มีเรี่ยวแรงขึ้นมาได้ด้วยและนอกจากทำให้เกิดภาวะหมดเรี่ยวแรงในบางคนแล้วยังพบว่าการที่ร่างกายมีระบบเผาผลาญไขมันไม่ดีก็จะส่งผลทำให้เกิดภาวะการสะสมไขมันดังกล่าวไว้ตามเนื้อเยื่อไขมันที่อยู่ทั่วไปในร่างกาย และสามารถก่อให้เกิดปัญหาน้ำหนักตัวหรือปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ตามมาได้ด้วยเช่นกัน

ขนาดที่ใช้ : คำแนะนำในการรับประทานแอลคาร์นิทีน
 
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำว่าการรับประทานกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนเพื่อให้ผลในการลดปริมาณไขมันในร่างกายนั้นจะต้องรับประทานควบคู่กับโปรแกรมการออกกำลังกาย เนื่องจากลักษณะการทำงานของกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีน นั้นเป็นการทำงานตามธรรมชาติ นั่นคือจะทำงานมากขึ้นเมื่อร่างกายมีความต้องการ และเมื่อใดที่ร่างกายมีความต้องการ ? คำตอบก็คือเมื่อร่างกายมีการออกกำลังกายหรือมีความต้องการพลังงานอย่างมาก ซึ่งก็จะเป็นเวลาที่ร่างกายของเราดึงเอากรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนมาใช้เพื่อช่วยดึงเอาไขมันที่สะสมอยู่ตามแหล่ง ๆ ของร่างกายให้ถูกย่อยสลายออกเป็นกรดไขมันอิสระในเลือด แล้วนำเข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปย่อยสลายหรือเผาผลาญเป็นพลังงานตามความต้องการของร่างกายอีกต่อหนึ่ง เนื่องจากกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนเป็นสารที่ได้จากธรรมชาติ ดังนั้นยังไม่มีการวิจัยใดที่พบว่าการรับประทานกรดอะมิโนแอลคาร์นิทีนจะทำให้เกิดอาการข้างเคียงหรือเกิดความเป็นพิษ

ปริมาณที่แนะนำให้รับประทานคือ วันละ 500 ถึง 2,000 มิลลิกรัม โดยไม่แนะนำให้รับประทานติดต่อกันเกินกว่า 6 เดือน เนื่องจากอาจจะทำให้ร่างกายของเราขาดกรดอะมิโนชนิดอื่น ๆ อีก 19 ชนิดได้ แต่ในผู้ที่มีความจำเป็นต้องรับประทานติดต่อกันเป็นเวลานานให้หยุดพักทุก 6 เดือน แล้วในระหว่างที่หยุดพักควรรับประทานกรดอะมิโนชนิดอื่น ๆ ให้ครบทั้ง 20 ชนิดร่วมด้วย และการรับประทานโปรตีนจากเนื้อสัตว์ นม หรือไข่ ก็พบว่าสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้เช่นกัน

วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2553

แอล-คาร์นิทีน กับบทบาทเพื่อการลดน้ำหนัก

            แอลคาร์นิทีน(L-Carnitine) เป็นชื่อกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ผลิตได้ที่ตับ โดยมีการสังเคราะห์จาก กรดอะมิโน 2 ชนิดคือ Lysine และ Methionine พร้อมกับอาศัยตัวเร่งให้เกิดการสังเคราะห์ ได้แก่ Niacin วิตามิน B6 C และธาตุเหล็ก โดยปกติจะพบในสัตว์เนื้อแดงชนิดต่างๆ โดยเฉพาะในส่วนกล้ามเนื้อลายจะมากเป็นพิเศษ

ซึ่งในความเป็นจริงนั้น หน้าที่หลักของ Carnitine จะช่วยลำเลียงโมเลกุลไขมันเล็กๆ เข้าไปใช้ใน เซลล์ต่างๆ ซึ่งในจุดนี้เองที่จะทำให้เกิดการนำไขมันไปเปลี่ยนเป็นพลังงาน ดังนั้นหากร่างกายขาดสาร Carnitine หรือมีไม่เพียงพอที่จะเป็นตัวพาเม็ดไขมันไปเผาผลาญแล้วละก็ ปัญหาสุขภาพอันเนื่องมาจากไขมันสะสมก็จะเป็นเรื่องตามมาที่สามารถส่งผลเสียต่อร่างกายของคุณอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ความอ้วน และการสะสมของไขมันตามหลอดเลือด ซึ่งอาจจะส่งผลต่อความยืดหยุ่นของหลอดเลือด และ นำมาซึ่งปัญหาไขมันในเลือดสูงและมีความดันโลหิตสูงตามมาได้ นอกจากนี้ ยังอาจจะมีอาการปวดเมื่อย

กล้ามเนื้อแขนขา อ่อนเพลีย ซึมและเหนื่อยง่าย
 
มีงานวิจัยมากมายที่ยืนยันถึงประโยชน์ของการใช้ L-carnitine ในวงการแพทย์ ไม่ว่าจะเป็นการใช้ ในผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงมาก จนไม่สามารถตั้งศีรษะให้ตรงได้ ซึ่งหลังจากมีการใช้ L-carnitine ขนาด 2 กรัม/วัน อาการดังกล่าวก็หายไป หรือการใช้ในนักกีฬา ก็มีการยืนยันว่าสามารถเพิ่มแรงสำหรับการออกกำลังกายหนักๆ เช่น วิ่งมาราธอน รวมทั้งมีการใช้ L-carnitine เพื่อช่วยให้การ

ทำงานของกล้ามเนื้อหัวใจดีขึ้น

ในส่วนบทบาทในการลดน้ำหนักและลดไขมันสะสม ดูเหมือนว่า L-carnitine น่าจะเป็นคำตอบที่ดี ของคุณๆ ที่ประสงค์จะลดน้ำหนักด้วยสารธรรมชาติ เนื่องจากมีการทดลองนำเอาเซลล์ไขมัน (Adipose Tissue) ของคนอ้วนมาวิเคราะห์ พบว่าในเนื้อเยื่อดังกล่าวแทบจะไม่มี Carnitine อยู่เหลือ เลย ดังนั้นจากความสัมพันธ์นี้เอง ทีมนักวิจัยจึงตั้งสมมติฐานว่า กลไกการลำเลียงไขมันเพื่อไปใช้ หาก ถูกขัดขวางด้วยวิธีใดก็ตาม ก็จะทำให้เกิดการสะสมของไขมันได้ แต่หากให้สารชนิดนี้เพิ่มเข้าไป ก็จะ

ส่งผลให้อัตราการเผาผลาญของไขมันสะสมมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่สนับสนุนผล การลดไขมันสะสมของคนอ้วน โดยการศึกษาดังกล่าว นักวิจัยได้ให้แบ่งวัยรุ่นที่อ้วนเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรก ให้รับประทาน L-carnitine ขนาด 2 g/วัน อีกกลุ่มได้ยาหลอก (Placebo) โดยทั้งสองกลุ่มถูกจำกัด อาหารให้มีแคลอรี่เท่าๆกัน และมีการออกกำลังกายขนาดปานกลางเหมือนกัน หลังจากนั้น 3 เดือน ต่อมาจึงทำการวัดน้ำหนักตัวอีกครั้ง พบว่ากลุ่มที่ได้รับ L-carnitine น้ำหนักตัวลดลงเฉลี่ย 11 ปอนด์ ขณะที่อีกกลุ่มลดลงเฉลี่ยไม่ถึง 2 ปอนด์ และปริมาณไขมันในกระแสเลือดก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

 
                          ดังนั้น L-carnitine ซึ่งแม้ว่าจะพบมากในสัตว์เนื้อแดงก็ตาม แต่ปริมาณที่ได้จากการทานใน 1 วัน จะให้กรดอะมิโนดังกล่าวเพียง 50-200 mg.เท่านั้น ซึ่งไม่เพียงพอต่อการเปลี่ยนแปลงไขมันสะสมไปเป็นพลังงาน ดังนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำว่าหากคุณต้องการลดน้ำหนักด้วยสารธรรมชาติ L-carnitine ขนาด 500-1,000 mg./วัน (1 cap 500 mg. หรือ แบบชนิดน้ำ 1000 mg/30 ml. สำหรับข้อดีในเรื่องการออกฤทธิ์ที่รวดเร็วขึ้น) น่าจะเป็นปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการลดน้ำหนัก และหากคุณมีดัชนีมวลร่างกาย (BMI) มากกว่า 25 ปริมาณการใช้จะสูงขึ้นตามลำดับ ซึ่งมีงานวิจัยที่ยืนยันความปลอดภัยจาก การใช้ว่า L-carnitine ยังไม่มีผลทางลบแม้จะรับประทานในขนาดสูงถึง 4 g./ วันก็ตาม

วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553

L-Carnitine ... แอลคาร์นิทีน

แอล-คาร์นิทีน เป็นชื่อของสารตัวหนึ่ง ที่ถูกสร้างขึ้นในร่างกายของเรานี่เองโดยสร้างขึ้นมาจากกรดอะมิโนสองตัวคือ ไลซีน (lysine) และเมไทโอนิน(methionine) ซึ่งแอล-คาร์นิทีนในร่างกายของคนเราถูกสร้างขึ้นไปใช้ในหน้าที่ต่าง ๆ หลายอย่าง ที่สามารถพูดในภาพรวมได้ว่า แอล-คาร์นิทีน ช่วยให้ร่างกายเปลี่ยนกรดไขมันไปเป็นพลังงานนั่นเอง ซึ่งพลังงานที่ได้มานี้ส่วนใหญ่ก็ถูกใช้สำหรับการทำงานของกล้ามเนื้อทั่วร่างกายเรานั่นเอง จากหน้าที่การทำงานพื้นฐานของสารชนิดนี้ทำให้สื่อโฆษณานำมาใช้เป็นประเด็นหลักในการสร้างโฆษณาให้เห็นว่าเมื่อกินเข้าไปแล้วคุณจะอยู่นิ่งไม่ได้ รู้สึกคึกคัก คล้ายกับว่าร่างกายมีพลังงานมากเกิน
 

แอล-คาร์นิทีน ถูกสร้างขึ้นภายในตับและไตและนำไปเก็บไว้ที่กล้ามเนื้อลายตัวอย่างเช่น กล้ามเนื้อตามแขน ขา ของเรานั่นเอง นอกจากนี้ยังถูกลำเลียงไปที่กล้ามเนื้อหัวใจ สมองและสเปิร์ม ซึ่งในส่วนของสเปิร์มนั้นจะทำให้เคลื่อนที่ได้อย่างเหมาะสม เพราะแอล-คาร์นิทีนจะไปเร่งให้ไมโทคอนเดรียเปลี่ยนไขมันมาเป็นพลังงาน สำหรับในอาหารจะพบสารแอล-คาร์นิทีนได้จากอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ เนื้อแดง นม ผลิตภัณฑ์จากนม ผลไม้ ได้แก่ พวกผลอะโวกาโด(Avocado) ธัญพืช ผักใบเขียว ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วหมัก (tempeh)

คนที่รับประทานอาหารมังสะวิรัติอาจจะเกิดการขาดแอล-คาร์นิทีนได้ในบางครั้ง เนื่องจากแอล-คาร์นิทีน พบได้ในเนื้อสัตว์ นมและถั่วหมักหรือในผู้ป่วยบางรายที่มีปัญหาที่เกี่ยวกับการดูดซึมของระบบย่อยอาหาร รวมไปถึงในกรณีที่มีผู้ป่วยขาดแอล-คาร์นิทีน (ซึ่งพบน้อยมาก) ที่อาจเกิดจากความผิดปกติของยีนหรือตับ ไต หรือกินอาหารที่มีกรดอะมิโนไลซีนและเมไทโอนีนน้อย ก็จะมีอาการอ่อนล้าของกล้ามเนื้อ เจ็บหน้าอกเจ็บกล้ามเนื้อ แขนขาอ่อนแรง ความดันเลือดต่ำและอาจมีอาการมึนงงสับสนร่วมด้วย เป็นต้น

 
คาร์นิทีนที่นำมาใช้นั้นมีหลายลักษณะ เช่นผลิตภัณฑ์บรรจุเม็ดและสารน้ำ เป็นต้น โดยนำมาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมที่ออกมาใช้และรู้จักกันอย่างแพร่หลายนั้นมีอยู่สามรูปแบบ


- รูปแบบแรก คือ แอล-คาร์นิทีน(LC) เป็นที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลายและมีราคาถูกที่สุด

- รูปแบบที่สอง คือ แอล-อะซิทิลคาร์นิทีน [L-acetylcarnitine(LAC)] เป็นเพียงรูปแบบเดียวที่นำมาใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ (Alzheimer) และโรคอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความผิดปกติทางสมอง

- รูปแบบสุดท้าย คือ แอล-โพรพิโอนิลคาร์นิทีน[L-propionylcarnitine(LPC)] ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดในการรักษาอาการเจ็บหน้าอกและโรคที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและใช้ได้ผลดีกับโรคที่เกี่ยวกับเส้นเลือดตามแขนขาอีกด้วย (peripheral vascular disease-PVD) ถ้าเรากินเข้าไปการดูดซึมของแอล-คาร์นิทีนจะเกิดขึ้นในลำไส้เล็กและลำไส้ใหญ่ ส่วนแพทย์สามารถให้แอล-คาร์นิทีนกับผู้ป่วยได้ทั้งทางเส้นเลือดและโดยการกิน


สำหรับแอล-คาร์นิทีนนั้นมีข้อควรรู้ดังนี้ คือ

1.คาร์นิทีนทำให้แก่ช้าลง ในเหตุผลแรกนี้ก็ชวนให้เราหลงใหลใคร่อยากกินคาร์นิทีนกันแล้ว ที่คาร์นิทีนทำให้แก่ช้าลงก็เพราะเหตุผลที่ว่าเซลล์ในร่างกายทุก ๆเซลล์ไม่ว่าจะเป็นเซลล์สมอง เซลล์จากระบบภูมิคุ้มกัน เซลล์จากหัวใจหรือเซลล์จากที่อื่น ๆ ของร่างกายทั้งหมดจะทำงานได้ดีก็ต่อเมื่อได้รับพลังงานเพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของเซลล์แต่ละชนิดและคาร์นิทีนนี่เองทำให้เซลล์มีอายุยืนนานขึ้น

2.คาร์นิทีนทำให้ระดับไตรกลีเซอร์ไรด์(triglycerides)อยู่ในระดับต่ำและช่วยเพิ่มระดับคอเรสเตอรอลที่มีประโยชน์ (HDL-คอเรสเตอรอล) ในเลือด

3. คาร์นีทีนช่วยป้องกันโรคหัวใจโดยมีผลทำให้สุขภาพโดยรวมของหัวใจดีขึ้น และช่วยป้องกันการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวด้วย (1/3 ของสาเหตุที่ทำให้คนเป็นโรคหัวใจตาย)
 
4. คาร์นีทีน ช่วยให้น้ำหนักลดโดยเฉพาะการใช้ร่วมกับวิธีการที่เราลดอาหารจำพวกแป้งลงในอาหารแต่ละมื้อ

5. คาร์นีทีน ช่วยเพิ่มระดับพลังงานของร่างกายอย่างเป็นธรรมชาติค่อยเป็นค่อยไป โดยไม่ทำให้ร่างกายได้รับบาดเจ็บ หรือเกิดความเสียหายใด ๆ กับร่างกายเหมือนกับที่พบในสารสกัดจากพืชบางชนิด
 
6. คาร์นิทีนช่วยให้ความสามารถในการออกกำลังกายเพิ่มขึ้น มีความทนทานมากขึ้นและป้องกันเนื้อเยื่อไม่ให้เกิดความเสียหายอันเนื่องมาจากปริมาณออกซิเจนในเซลล์ไม่เพียงพอ
 
7. คาร์นิทีนและ อะซีทีล-แอล-คาร์นีทีน(Acetyl-L-carnitine) ทำให้การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันดีขึ้น
 
8. อะซีทีล-แอล-คาร์นีทีนช่วยลดความเสียหายของเซลล์ประสาทอันเนื่องมาจากความเครียดและอาจมีส่วนช่วยในการป้องกันโรคอัลไซเมอร์ แต่ได้ผลเฉพาะในผู้ป่วยที่มีอายุน้อย ทำให้อาการของโรคไม่เป็นไปมากกว่านี้
 
9. อะซีทีล-แอล-คาร์นีทีน มีผลต่อสุขภาพจิตในทางบวกและลดภาวะความเครียด
 
10. คาร์นิทีนช่วยในการทำงานของตับ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมของคนเรา
 

                แต่การใช้แอล-คาร์นิทีนมีข้อควรระวัง คือ สำหรับคนที่จะซื้อผลิตภัณฑ์แอล-คาร์นิทีนมาใช้ควรต้องระวังเพราะอาจมีผลข้างเคียงต่าง ๆ เกิดขึ้นกับร่างกายได้และอาจจะเข้าทำปฏิกิริยากับยาอื่น ๆ ที่กินร่วมกัน ดังนั้นในการใช้แต่ละครั้งควรอยู่ในความควบคุมดูแลของแพทย์จะปลอดภัยกว่าและข้อควรจำให้ขึ้นใจก็คือสารทุกอย่างมีทั้งประโยชน์และโทษในตัวเองขึ้นกับปริมาณและช่วงจังหวะเวลาของการใช้ ถึงแม้ว่าแอล-คาร์นิทีน จะไม่ปรากฏผลข้างเคียงใด ๆ ที่เด่นชัดมากนัก แต่ก็มีงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าถ้ากินเข้าไปมากขนาด 5 กรัมต่อวัน หรือมากกว่าอาจทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียนได้ ส่วนอาการข้างเคียงอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น มีความอยากอาหารเพิ่มขึ้น มีกลิ่นตัวและเกิดอาการผื่นแดง ในนักกีฬาหรือคนที่กินแอล-คาร์นิทีนเสริมสำหรับการเล่นกีฬา เพื่อช่วยในการสลายไขมันและช่วยทำให้การทำงานของกล้ามเนื้อดีขึ้น ก็ควรต้องหยุดใช้เพื่อให้กล้ามเนื้อได้พักบ้างอย่างน้อยเดือนละ 1 อาทิตย์ คือไม่ควรใช้อย่างต่อเนื่องติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน สำหรับคนที่มีอาการแพ้ต่อ อาหารโปรตีน เช่น ไข่ นมหรือข้าวสาลีไม่ควรกินผลิตภัณฑ์ที่เสริม แอล-คาร์นิทีนเป็นอันขาด รวมถึงคนที่มีปัญหาเกี่ยวกับตับและไต เด็กที่มีอายุยังไม่ถึง 2 ขวบและสตรีมีครรภ์ก็ควรหลีกเลี่ยงการใช้ ถ้าจำเป็นก็ควรอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์